วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 11 แนวทางการประกอบธุรกิจ

สาระสำคัญ
     ในบทนี้จะกล่าวถึงแนวทางในการประกอบธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การขาย แหล่งที่มาของเงินทุน คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ ปัญหาในการดำเนินการต่างๆ เป็นต้น
เรื่องที่จะศึกษา
     - ความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ 
     - แนวคิดทางการตลาด
     - การวางแผนการตลาด
     - แผนการขาย
     - แหล่งที่มาของเงินทุน
     - คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม
     - ปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
     - การเลือกประกอบอาชรพอิสระ
     - คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระ
     - ปัญหาและข้อเสนอแนะในการประกอบธุรกิจ
จุดประสงค์การเรียนรู้
     1. บอกความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ได้
     2. เขียนแนวคิดทางการตลาดได้
     3. วางแผนการตลาดได้
     4. วางแผนการขายได้
     5. หาแหล่งที่มาของเงินทุนได้
     6. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจ
         ขนาดย่อมได้
     7. เขียนปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมได้
     8. เลือกประกอบอาชีพอิสระตามที่ตัวเองชอบได้
     9. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระได้
    10. เขียนปัญหาและการแนะนำผู้อื่นในการประกอบธุรกิจได้

****************************************

แนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจ
            ธุรกิจเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน   ส่งผลทำให้มาตรฐานของชีวิตดีขึ้น   มีโอกาสได้ใช้สินค้า  หรือบริการไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค   หรือสินค้าบริโภคก็ตาม   การดำเนินงานของผลธุรกิจส่งผลดีต่อทั้งประชาชน   อุตสาหกรรม   และประชาชาติ   ทำให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้นๆ  มีการพัฒนาที่ดีขึ้นในทุก ๆ ด้าน  การดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบันอยู่ในสภาวการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา   ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมภายในประเทศ   หรือสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ  เช่น  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีระบบข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว   พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป   การขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศ   การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น   ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่จะต้องมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที   ดังนั้นผู้บริหารของธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้า   เพื่อให้กิจการมีความสามารถทางด้านการแข่งขัน   มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของกิจการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง   สามารถดำเนินงานเกิดการเจริญเติบโต   ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมายของธุรกิจ (Business  Meaning)
            นักวิชาการต่าง ๆ ได้ให้ความหมายของธุรกิจ  (Business)   ไว้ดังนี้
            ริกกี้  ดับเบิ้ลยู.  กริฟฟริ้น  และโรนัลด์  เจ.  เอ็บเบิร์ด  (Ricky  W.  Griffin  &  Ronald  J.  Ebert)  ได้ให้ความหมายของธุรกิจไว้ว่า  กิจการที่ทำการผลิตสินค้าขึ้นมา   มีการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ  โดยหวังผลกำไร
            โจเซฟ  ทีสตรับ   และเรมอนด์  เอฟ.  แอ็ตเนอร์  (Jqseph  T.  Straub  and  Raymond  F.  Attnet)  ได้ให้ความหมายของธุรกิจไว้ว่า   “องค์การที่ดำเนินงานในการผลิตสินค้าและให้บริการโดยหวังผลกำไร
            ดังนั้น  จึงสรุปได้ว่า  ธุรกิจ  หมายถึง  กระบวนการของธุรกิจนับตั้งแต่การผลิต  การจำหน่ายสินค้า  และบริการตามความต้องการของผู้บริโภค   โดยได้รับกำไรเป็นผลตอบแทน   จากความหมายดังกล่าวธุรกิจ  จึงมีส่วนประกอบสำคัญ  ดังนี้
            1.   การผลิต  (Productions)   หมายถึง  การดำเนินกิจกรรมการผลิตวัตถุดิบ  และสินค้าสำเร็จรูป  ซึ่งรวมถึง  การผลิตผลิตผลทางการเกษตรทุกชนิด  เช่น  การผลิตผลิตผลต่าง ๆ  พืชไร่  ป่าไม้  เหมืองแร่   เป็นต้น
            2.   การจัดจำหน่าย  (Distributions)  หมายถึง  การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการขายสินค้า   ทั้งสินค้าสำเร็จรูปจากผู้ผลิตให้ผู้บริโภคหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูป    ให้แก่ธุรกิจที่ทำการผลิตสินค้าสำเร็จรูป


            3.   การบริการ  (Services)  หมายถึง  การดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ  เช่น  ธุรกิจโรงแรม  กิจการขนส่ง   หรือการประกันภัย  เป็นต้น
            4.   กำไร  (Profit)   หมายถึง  ผลตอบแทนที่ผู้ประกอบการจะได้รับการดำเนินงาน  เป็นผลแตกต่างระหว่างรายได้ของธุรกิจและค่าใช้จ่าย   ซึ่งเป็นปัจจัยจูงใจให้ผู้ประกอบการสนใจดำเนินธุรกิจ  แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการย่อมต้องยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนด้วย
            ส่วนการประกอบธุรกิจนั้น  หมายถึง  การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบริการ   ตลอดจนการนำสินค้าและบริการนั้นๆ  จัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้ได้อย่างทั่วถึง

เป้าหมายของธุรกิจ  (Business  Goal)
          ผู้ประกอบการธุรกิจมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญพอสรุปได้  คือ
            1.  เพื่อมุ่งหวังผลกำไร  กำไรจะเป็นผลตอบแทนกลับคืนให้กับเจ้าของกิจการที่ได้ลงทุนในการดำเนินธุรกิจ   ในการผลิตสินค้า  และบริการต่าง ๆ สนองความต้องการของผู้บริโภค
            2.   เพื่อมุ่งหวังที่จะทำให้กิจการอยู่รอด   เจ้าของกิจการเมื่อได้ลงทุนดำเนินการต่างมุ่งหวังให้กิจการดำเนินงานต่อไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก   หรือปิดกิจการ  แต่สามารถผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ ให้กับผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง
            3.   เพื่อมุ่งหวังความเจริญเติบโต   กิจการนอกเหนือจากการบริหารงานให้กิจการอยู่รอดแล้ว  กิจการยังต้องการความเจริญก้าวหน้า   มีการเพิ่มขยายขอบเขตการดำเนินงาน   มีการผลิตสินค้าใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด   ขยายสาขา  เพิ่มการลงทุนในธุรกิจใหม่   ทำให้กิจการมีฐานะและสินทรัพย์ของกิจการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
            4.   เพื่อมุ่งหวังสนองความรับผิดชอบต่อสังคม  การประกอบธุรกิจผู้ประกอบการจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม   ทั้งสังคมภายในและสังคมภายนอกกิจการ  เช่น  มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น  พนักงาน  ลูกค้า  สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  แหล่งชุมชน ฯลฯ  ไม่เอารัดเอาเปรียบ  หรือสร้างปัญหาให้กับสังคมดังกล่าว
            กล่าวโดยสรุป  ในการดำเนินงานของธุรกิจนั้นมุ่งหวังที่จะจำหน่ายสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค   โดยมีผลกำไรอยู่ในระดับที่พึงพอใจ  และสามารถทำให้กิจการอยู่รอด   และมีความเจริญเติบโต   โดยมีการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

ประเภทของธุรกิจ  (Types  of  Business)
          ประเภทของธุรกิจ  สามารถจัดแบ่งได้ตามลักษณะของการดำเนินงานได้  3 รูปแบบใหม่ ๆ คือ
            1.   การพาณิชย์  (Commerces)  หมายถึง   การดำเนินการด้านการซื้อขายแลกเปลี่ยน  รวมทั้งกิจการขายปลีก  (Retail)   การขายส่ง  (Wholesale)   กิจการคลังสินค้า  (Warehousing)   การขนส่ง  (Transporting)   การประกันภัย  (Insurancing)   การธนาคาร  (Banking)

            2.   การอุตสาหกรรม  (Industry)  หมายถึง  การดำเนินการผลิตสินค้าและบริการ  (Goods  and  Service)  สินค้าและบริการที่มีการผลิตขึ้น  ได้แก่  สินค้าอุปโภคบริโภค  (Consumer’s  Goods)   คือ สินค้าที่ผู้นำไปใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ทันที  สินค้าอีกรูปแบบหนึ่ง คือ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป   คือ  สินค้าที่จะนำไปอุปโภคทันทียังไม่ได้   แต่จะต้องถูกตำไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการชนิดอื่นต่อไป
            การอุตสาหกรรม   อาจแบ่งแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้  คือ
2.1    Genetic  Industry     หมายถึง   ธุรกิจประกับการเกษตร   การเพาะปลูก  การเลี้ยงสัตว์
2.2    Extratic  Industry  หมายถึง    ธุรกิจที่นำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้  เช่น  การทำเหมืองแร่ 
การประมง  การป่าไม้
2.3    Manufacturing  Industry   หมายถึง  ธุรกิจที่นำเอาวัตถุดิบต่าง ๆ  (Raw  Material)  มา
ประกอบกันเป็นสินค้าสำเร็จรูป  (Finished  Goods)
2.4    Construction  Industry   หมายถึง  ธุรกิจที่ดำเนินการการก่อสร้าง  อาคารบ้านเรือน  ถนน
ฯลฯ
2.5    Analytical  Industry  หมายถึง  อุตสาหกรรมที่นำเอาวัตถุอย่างเดียวมาใช้เพื่อผลิตสินค้าหลาย
ประเภท   ตัวอย่างเช่น  อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน
2.6    Synthetic  Industry    หมายถึง  อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้า   ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบและวัสดุหลายๆ 
อย่างมาใช้ประกอบกัน  เช่น  อุตสาหกรรมทอผ้า

3.   การบริการ  (Service)          หมายถึง  การดำเนินการด้านการให้บริการแก่ผู้ซื้อ   ได้แก่  กิจการโรง
แรม   โรงภาพยนต์   การท่องเที่ยว   ธนาคาร  การขนส่ง  เป็นต้น

ปัจจัยการผลิต  (Factors  of  Production)
          ปัจจัยการผลิต  คือ ทรัพยากรที่ธุรกิจจำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ  ในอดีตที่ผ่านมาปัจจัยการผลิตจะมุ่งเน้นปัจจัย  4   ส่วนที่สำคัญ คือ  แรงงาน  เงินทุน  ผู้ประกอบการ   และทรัพยากรธรรมชาติ   แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มปัจจัยการผลิตอีกปัจจัยหนึ่ง คือ  ทรัพยากรทางด้านข้อมูลข่าวสาร   ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีการใช้ฐานข้อมูลในการดำเนินงาน เช่น  การซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์  (E – Commerces)
            ปัจจัยการผลิตดังกล่าวประกอบด้วย
            1.   แรงงาน  (Laber)   เป็นปัจจัยทางด้านแรงงานที่ธุรกิจนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า  ทรัพยากรมนุษย์  (Human  Resources)   เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ทำงานให้ธุรกิจทั้งด้านกายภาพและทางด้านสติปัญญา   นับได้ว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดในการผลิตสินค้าหรือบริการ
            2.   เงินทุน  (Capital)   ธุรกิจจำเป็นต้องมีเงินทุนในการดำเนินงาน  ไม่ว่าจะเป็นการซื้อทรัพยากรต่าง ๆ  ใช้ในการว่าจ้างแรงงาน   ใช้ในการลงทุนซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ  และใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน   ถ้าเป็นธุรกิจขนาดย่อมเงินลงทุนของธุรกิจมักมาจากเจ้าของธุรกิจ  ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่เงินลงทุนของธุรกิจมาจากการขายหุ้นของกิจการ  และเงินทุนของกิจการอีกส่วนหนึ่งจะได้มากจากผลการดำเนินงานของธุรกิจ
3.      ผู้ประกอบการ  (Enterpreneurs)  เป็นผู้ริเริ่มและลงทุนในการดำเนินงาน  โดยจะเป็นผู้มองหา
โอกาสในการดำเนินธุรกิจ   โดยยอมรับภาระความเสี่ยวจากการดำเนินงาน  และใช้ความสามารถทางด้านการจัดการเพื่อให้ธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ   เจริญเติบโตก้าวหน้า
            4.   ทรัพยากรทางด้านกายภาพ  (Physical  Resources)   เป็นทรัพยากรที่มีตัวตนสัมผัสได้  และธุรกิจมีไว้ใช้ในการดำเนินงาน   ซึ่งประกอบไปด้วย  ทรัพยากรธรรมชาติ  วัตถุดิบ   โรงงาน  สำนักงาน  เครื่องมือเครื่องจักร  อุปกรณ์ต่าง ๆ
            5.   ทรัพยากรทางด้านสารสนเทศ  (Information  Resourse)   การผลิตสินค้าในปัจจุบันทรัพยากรทางด้านสารสนเทศนับว่า   เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง   เนื่องจากทางด้านสารสนเทศนับว่า   เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง   เนื่องจากระบบสังคมปัจจุบันเป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร   (Information  Society)   การดำเนินงานของธุรกิจต้องทันต่อเหตุการณ์   ผู้บริโภคหรือลูกค้ามีการใช้เทคโนโลยี  เช่น  คอมพิวเตอร์   อินเทอร์เน็ต   มีการซื้อขายสินค้าทางอีเล็กทรอนิกส์  (E – Commerces)   มีการติดต่อซื้อชายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ  (Business  to  Business  :  B2B)   เป็นต้น

รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ  (Types  of  Economic  System)  
            รูปแบบของระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมีผลต่อการจัดการในเรื่องของปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกันไปด้วย   บางระบบเศรษฐกิจเจ้าของปัจจัยการผลิตเป็นภาคเอกชน  ในขณะที่บางระบบเศรษฐกิจเจ้าของปัจจัยการผลิตเป็นภาครัฐบาล  ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจ  เรื่องของการผลิตและการจัดสรร   ปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ
            รูปแบบของระบบเศรษฐกิจ  แบ่งออกได้  ดังนี้
            1.  ระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า  (Planned  Economics)   รูปแบบพื้นฐานของระบบนี้ก็คือ  ระบบคอมมิวนิสต์  (Communism)  และระบบสังคมนิยม  (Sociallism)   ระบบคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 19   โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันนี  ชื่อ  คาร์ล  มาร์ก  (Karl  Marx)  ระบบนี้รัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต   และดำเนินงานในการผลิตเอง   รัฐจะเป็นผู้วางแผนและตัดสินใจในทุกด้าน   ส่วนประชาชานจะทำงานตามที่รัฐกำหนด  ซึ่งในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ได้ค่อย ๆ ล่มสลายลง    เปลี่ยนมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมากขึ้น  (ส่วนระบบสังคมนิยมรายละเอียดจะกล่าวไว้ในระบบเศรษฐกิจการตลาดแบบผสม  Mixed market  Economy)



            2.   ระบบเศรษฐกิจการตลาด  (Market  Economics)   การตลาดเป็นเครื่องมือของการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ   ซึ่งเรียกว่า  ตลาดปัจจัยนำเข้า  (Input  Market)   และตลาดผลผลิต   (Output  Market)
            ตลาดปัจจัยนำเข้า  (Input  Market)   เป็นการตลาดที่ธุรกิจทำการซื้อปัจจัยทรัพยากรต่าง ๆ จากผู้ขายปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือน   เพื่อนำมาใช้เป็นปัจจัยการผลิต
            ตลาดผลผลิต  (Output  Market)    เป็นการตลาดที่ธุรกิจขายสินค้าหรือบริการตามความต้องการของภาคครัวเรือน  
ระบบเศรษฐกิจพื้นฐานของระบบนี้กระบวนการตลาดจะขึ้นอยู่กับกฎอุปสงค์  (Demand)  และอุปทาน  (Supply)            หรือเรียกว่า  ระบบทุนนิยม  (Capitalism)   โดยระบบนี้เอกชนจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต   เลือกทำการผลิตสินค้าหรือบริการโดยมีผลกำไรเป็นสิ่งจูงใจ  สำหรับการลงทุนของผู้ประกอบการมีอิสระในการลงทุนและดำเนินธุรกิจ   และในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะมีสิทธิที่จะเลือกบริโภคสินค้าหรือบริการที่ตนเองต้องการและพึงพอใจ
            3.  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม  (Mixed  Market   Economy)   เป็นระบบเศรษฐกิจผสมผสานระหว่างะรบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า  (Planned  Economics)   และระบบเศรษฐกิจการตลาด  (Market  Economy)   ระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะนำมาประยุกตุใช้กับสถานการณ์ของเศรษฐกิจและการเมืองของแต่ละประเทศ   ในปัจจุบันสถานการณ์เรื่องของการแปรรูปวิสาหกิจของรัฐ  (Privatization)   เป็นกระบวนการแปรรูปการดำเนินงานของภาครัฐมาสู่ภาคเอกชนมากขึ้น
            ส่วนในระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าที่เรียกว่า  ระบบสังคมนิยม  (Socialism)  นั้น     รัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต   และเลือกการดำเนินงานในอุตสาหกรรมหลักๆ  ที่รัฐบาลเห็นว่า       อุตสาหกรรมนั้นมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ  เช่น  สถาบันการเงิน  การสื่อสาร  การขนส่ง        รัฐบาลจะเข้ามาดำเนินงานเสียเอง   ในขณะที่อุตสาหกรรมขนาดเล็กๆ   จะให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินงาน

ระบบเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่   21
          ในศตวรรษที่  21 จะมีแรงผลักดันจาก 3 ปัจจัยหลักที่มีต่อระบบเศรษฐกิจโลก  ดังนี้
          1.  การปฏิวัติระบบสารสนเทศ  (Information  Revolution)   จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของอุตสาหกรรมต่าง ๆ   ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมทางด้านการเงิน  การสื่อสาร  การค้าส่ง   การค้าปลีก   ธุรกิจต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้จะต้องมีการปรับตัว  ต้องการเปลี่ยนแปลง
            2.   เทคโนโลยีใหม่ ๆ  (New  Technology)   จะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ  เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม  ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือ   เครื่องจักร  ระบบงานใหม่ ๆ   การวิจัย   และพัฒนาทางด้านต่างๆ  เช่น  ทางด้านวิทยาศาสตร์  (Biotechnology)   การนำคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต   จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ  เพิ่มมากขึ้น
            3.   การเพิ่มขึ้นของโลกโลกาภิวัฒน์   (Increasing   Globalization)   การดำเนินงานของธุรกิจมีการขยายตัวไปยังตลาดทั่วโลก   ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น  มีการแข่งขันสูงขึ้น  ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ   มีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำ   เพื่อที่จะได้สามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้





ลักษณะสำคัญของธุรกิจเอกชน  (Characteristics  of  Private  Enterprise)
            ผู้ประกอบการธุรกิจมีการลงทุนในการดำเนินงานโดยหวังผลกำไรตอบแทน   ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ   ผู้ประกอบการจัดต้องเข้าใจ  คือ  ลักษณะสำคัญของระบบธุรกิจเอกชนที่มีหลักการในเรื่องสิทธิต่าง ๆ  ดังนี้ 
            1.   สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน  (The  Right  to Private  Property)  ในระบบการดำเนินงานของธุรกิจ   ผู้ประกอบการสามารถมีสิทธิในการซื้อการเป็นเจ้าของการใช้และขายทรัพย์สิน   นอกจากนี้สิทธิส่วนบุคคลยังรวมถึงการลงทุนในที่ดิน  อาคาร  เครื่องมือ  อุปกรณ์  และทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ไม่มีตัวตน  เช่น  การประดิษฐ์คิดค้นต่าง ๆ  เป็นต้น
            2.  สิทธิในความมีอิสระในการเลือกตัดสินใจ  (The  Right  of  Freedom  of  Choice)  ระบบของการประกอบการธุรกิจเอกชน   ผู้ประกอบการมีสิทธิและอิสระในการตัดสินใจต่างๆ  เช่น  รูปแบบของงานที่จะทำ   สถานที่ทำงาน   การจัดหาและการใช้เงินทุน   ซึ่งหมายความว่า  สิทธิส่วนบุคคลในการเลือกอาชีพ   และงานที่ทำโดยอิสระตามที่ตนต้องการ
            3.   สิทธิในเรื่องของการทำกำไร  (The  Right  to   Profic)   ในระบบของการประกอบธุรกิจเอกชนผู้ประกอบการที่ลงทุนเริ่มดำเนินงานธุรกิจต่างมีความมุ่งหวังที่จะได้รับสิทธิในเรื่องผลกำไรจากการดำเนินงาน   ซึ่งเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งของการดำเนินงานธุรกิจ  ดังนั้น   การขัดขวางในการประกอบธุรกิจถือว่าเป็นอุปสรรคในเรื่องของอิสระในการดำเนินงานของผู้ประกอบการ  หรือผู้ลงทุน
            4.  สิทธิในเรื่องของการแข่งขัน   (The  Right  to  Compete)  ภายใต้ระบบของการประกอบการภาคธุรกิจเอกชน   ประชากรมีอิสระในการประกอบการ   สามารถแข่งขันกับผู้ขายรายอื่นๆ  ได้   การแข่งขันจะส่งผลทำให้กิจการมีการพัฒนาปรับปรุงสินค้าให้ดีขึ้น   มีการวางแผนด้านราคา  การส่งเสริมการจำหน่าย   การใช้ช่องทางการจำหน่ายให้สินค้าหรือบริการถึงมือลูกค้าได้อย่างทั่วถึง   การแข่งขันของธุรกิจต่าง ๆ จะส่งผลดีให้กับลูกค้า  ทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการที่ดี   และตอบสนองความต้องการของตนได้

รูปแบบของการแข่งขัน  (Types  of  Competition)
            ในระบบของการดำเนินงานของธุรกิจ   รูปแบบของการแข่งขันสามารถแบ่งออกได้เป็น 4  รูปแบบคือ
1.      ตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์  (Pure  Competition)  มีลักษณะสำคัญ 2 ประการ  คือ
1.1  กิจการต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนี้มีขนาดเล็ก
1.2  จำนวนของกิจการต่าง ๆ  ในอุตสาหกรรมมีจำนวนมากราย
ดังนั้น  จึงไม่มีกิจกรรมหนึ่งที่จะมีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาของสินค้าในตลาดดังนี้
ในตลาดนี้ลักษณะของสินค้าจะคล้ายคลึงกัน   ไม่มีความแตกต่างกัน  ระหว่างคู่แข่งขัน  และผู้
ประกอบการ  หรือ  ผู้ลงทุนธุรกิจสามารถเข้าสู่ตลาด  หรือออกจากตลาดได้อย่างง่ายดาย
           
            ราคาของสินค้าจะไม่ถูกกำหนดโดยกิจการใดกิจการหนึ่ง   แต่จะถูกกำหนดโดยกฎของอุปสงค์และอุปทานของตลาด  (Law  of  Demand  and  Supply)
            อุปทาน  หมายถึง  ปริมาณการเสนอขายของผู้ผลิตในตลาดในระดับราคาต่าง ๆ

ส่วน     อุปสงค์    หมายถึง     ความต้องการของผู้ซื้อในระดับราคาต่าง ๆ   จุดตัดกันของเส้นอุปสงค์และ     อุปทาน    จะเป็นระดับราคาที่เหมาะสม
    2.  ตลาดแข่งขันแบบกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด   (Monopolistic   Competition)    ลักษณะของตลาดนี้  จำนวนผู้ขายจะน้อยกว่าในตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์   แต่จำนวนผู้ซื้อยังคงมีจำนวนมาก  ดังนั้นผู้ขายจึงจำเป็นที่จะทำให้สินค้าของตนมีลักษณะแตกต่างจากผู้ขายรายอื่น  ๆ   โดยใช้วิธีการกำหนดชื่อตรายี่ห้อสินค้า   การตกแต่ง   หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์   และการโฆษณาสินค้า  ลักษณะของตลาดนี้   กิจการต่าง ๆ หรือคู่แข่งขันอาจมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็ได้   เนื่องจากผู้ประกอบการค่อนข้างง่ายสำหรับกิจการในการเข้าหรือ  ออกจากตลาดนี้
            3.   ตลาดคู่แข่งขันน้อยราย  (Oligopoly)  ลักษณะตลาดนี้จะมีผู้ขายจำนวนน้อยราย   แต่มีลักษณะขนาดของกิจการขนาดใหญ่   การเข้าสู่ตลาดนี้ของผู้ลงทุนรายใหม่ๆ   ค่อนข้างถูก  จำกัด  เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก  เช่น  กิจการรถยนต์   เหล็กเส้น  ปูนซีเมนต์  น้ำอัดลม  เบียร์  น้ำมัน  ฯลฯ
            ราคาสินค้าจะใกล้เคียงกัน   การเปลี่ยนแปลงราคาผู้ขายรายใดรายหนึ่งจะมีผลกระทบต่อราคาสินค้าในอุตสาหกรรม   อันส่งผลต่อกำไรของกิจการ  เช่น  การลดราคาของผู้ขายรายได้รายหนึ่ง   ส่งผลให้คู่แข่งรายอื่นจำเป็นต้องลดราคาลงเพื่อปกป้องตลาดของตนเอง   หรือการขึ้นราคาของผู้ขายรายใดรายหนึ่ง   แต่คู่แข่งขันรายอื่นไม่ได้ขึ้นราคาตามไปด้วย   จะส่งผลทำให้ผู้ขายรายนั้นขายได้จำนวนน้อย   มีผลต่อกำไรของกิจการ

            4.  ตลาดผูกขาด  (Monopoly)  ลักษณะตลาดนี้หรืออุตสาหกรรมนี้จะมีผู้ขายเพียงแค่รายเดียว   ดังนั้นผู้ขายจึงมีอำนาจเต็มที่ในการกำหนดราคาของสินค้า   ในประเทศไทยตลาดนี้จะเป็นตลาดที่ภาครัฐเข้ามาดำเนินงานในรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ   หรือเป็นกิจการประเภทสาธารณูปโภค  เช่น  ไฟฟ้า  โทรศัพท์   น้ำประปา   ระบบขนส่งมวลชน  รถเมล์  รถไฟ  ฯลฯ
 รูปแบบของการแข่งขันในระบบธุรกิจเอกชนทั้ง 4 รูปแบบ   มีลักษณะสำคัญพอสรุปได้  ตารางนี้

รูปแบบของการแข่งขัน
ลักษณะสำคัญ
จำนวนกิจการ
สินค้า
การควบคุมราคา
ความง่ายในการเข้าตลาด

ตลาดแข่งขันอย่างสมบูรณ์

จำนวนมาก
เหมือนมาก
ไม่มี
ง่าย

ตลาดแข่งขันแบบกึ่งแข่งขัน

กึ่งผูกขาด


จำนวนมาก

แตกต่างกัน

มีบ้าง

ค่อนข้างง่าย

ตลาดผู้แข่งขันน้อยราย

น้อย
เหมือกันหรือแตกต่างกัน
สำคัญมาก
ยาก

ตลาดผูกขาด

หนึ่ง
ยากหาสินค้าใดมาทนแทน
มักกำหนดโดยรัฐบาล
ไม่สามารถ
เข้าได้

            ตาราง  แสดงลักษณะสำคัญของรูปแบบของการแข่งขันในระบบธุรกิจเกชนทั้ง  4  รูปแบบ


ประวัติของธุรกิจ  (History  of  Business)
            ธุรกิจการพัฒนาการตามลำดับตั้งแต่ยุคอดีตจนมาถึงปัจจุบันได้
            1.  ยุคระบบโรงงานและการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม   (The  Factory  and  the  Industrial   Revolution   Era)   การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมเกิดขึ้นที่ทวีปยุโรปในกลางศตวรรษที่  18   โดยธุรกิจมีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตสินค้า   ส่งผลทำให้เกิดการผลิตสินค้าจำนวนมาก  (Mass  Production)   และเกิดความชำนาญในแรงงาน (Spcialization  of  Labor)   แรงงานที่ใช้จะต้องมีความชำนาญในการทำงาน
            2.   ยุคการค้าแบบเสรีและการเป็นผู้ประกอบการ   (Laissez – Faire  and  The  Entrepreneurial  Era)   การดำเนินธุรกิจในยุคนี้รัฐจะไม่เข้าแทรกแซงการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ   ทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก   เกิดการแข่งขัน   ภาครัฐจะมีการออกกฎหมายเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ
            3.  ยุคการผลิต  (The  Production  Era)   ในยุคนี้การดำเนินธุรกิจนอกเหนือไปจากการมุ่งเน้นเรื่อง  การผลิตจำนวนมาก   ความชำนาญในด้านแรงงานแล้ว  ผู้บริหารธุรกิจยังจะมุ่งเน้นไปยังกระบวนการผลิต  เช่น  ใช้แนวทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์   กฎการทำงานที่ดีที่สุดมีเพียงวิธีเดียว  (One  best  way)  ซึ่งเกิด  ขึ้นในช่วงทศวรรษที่  1900   การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์จะมุ่งเน้นผลผลิตจำนวนมากๆ   เน้นประสิทธิภาพ


การผลิต   มีการออกแบบวธีการทำงานของคนงาน   เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน  ในปี ค.. 1913  เฮนรี่  ฟอร์ด  (Henry  Ford)   ได้นำระบบสายการผลิต  (Assembly   Line)  เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต  ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น   สามารถผลิตสินค้าได้รวดเร็ว    และได้จำนวนมาก   มีผลทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้
            4.  ยุคการตลาด  (The  Marketing  Era)   ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  และในช่วงระหว่างปี ค..  1950 – 1960   ระบบการผลิตยังคงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น   มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี   มาตรฐานการครองชีพขงประชาชนดีขึ้น   เกิดปรัชญาใหม่ทางธุรกิจ  โดยจะมุ่งเน้นด้านการตลาด  (Marketing  Concept)   โดยยุคก่อนหน้านี้จะมุ่งเน้นด้านการผลิต   (Production  Concept)   คือ  การผลิตก่อนแล้วจึงจำหน่าย  แต่ในยุคนี้จะคำนึงความต้องการของผู้บริโภคเสียก่อนแล้วจึงทำการผลิต
          5.  ยุคโลกาภิวัฒน์   (Global  Era)  ในทศวรรษ 1980  มีการขยายตัว  เกิดความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการผลิต    เช่น  มีการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์  ใช้ระบบข้อมูลข่าวสาร   มีการสื่อสารติดต่อทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง   เกิดระบบการค้าขายข้ามพรมแดน   เป็นระบบเศรษฐกิจทั่วโลก   ตัวอย่างเช่น   คนในประเทศสหรัฐอเมริกา   สามารถใช้รถยนต์ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น  ดังนั้นการดำเนินธุรกิจในยุคนี้   ผู้ประกอบการจะต้องมีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านการติดต่อสื่อสาร  การขนส่ง   เน้นการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ   ดังนั้นการดำเนินงานทางธุรกิจ   ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต   การเงิน  การจัดจำหน่าย   การตลาด  จะมีการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจในประเทศ
            6.  ยุคอินเทอร์เน็ต  (The  Internet  Era)   ในศตวรรษที่ 21  นี้   ระบบเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสารเจริญรุดหน้า   ประชาชน  ครัวเรือน  ธุรกิจต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์   อินเทอร์เน็ต  การส่งข้อความทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น   เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย  (Network)   ต่าง ๆ  จากครัวเรือน  ธุรกิจ   หน่วยงานต่าง ๆ  เข้าด้วยกัน  การติดต่อซื้อขายสินค้าผ่านอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ  (Business  To  Business  : B2B)  หรือระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค  (Business  To  Customer  : B2C)  ธุรกิจต่าง ๆ มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับวิทยาการสมัยใหม่   โดยเฉพาะทางด้านข้อมูลข่าวสาร   มีการสื่อสารรูปแบบใหม่  ๆ  ทั้งภายในหน่วยงานธุรกิจเอง   และการติดต่อกับภายนอกธุรกิจ

ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม  (Social  Responsibility)

            ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม   เป็นความพยายามของธุรกิจที่มีพันธะผูกพันไปยังกลุ่ม  หรือบุคคล   สิ่งแวดล้อม  ลูกค้า  พนักงาน   ผู้ถือหุ้น  หรือที่เรียกรวมว่า  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ   (Stakeholders)
ขอบเขตของความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม
(Areas  of  Social  Responsibility)
          1.  ความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม  (Responsibility   toward  the  environment)   ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม   โดยการดำเนินธุรกิจไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่าง ๆ (Pollution)   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอากาศ   น้ำเสีย  กลิ่น  ควัน  ธุรกิจบางแห่งมีการจัดการทางด้านโรงงาน  โดยมีการกำจัดน้ำเสียก่อนปล่อยน้ำออกจากโรงงาน  บางกิจการอาจมีการนำน้ำที่ผ่านการกำจัดน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก  เป็นต้น
            2.   ความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อลูกค้า  (Responsibility  toward  custiomers)   ธุรกิจจะต้องรับผิดชอบต่อลูกค้า   ในเรื่องของคุณภาพของสินค้า  การกำหนดราคาที่ยุติธรรม  นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงผู้บริโภคในเรื่องของความปลอดภัยจากการใช้สินค้า  การโฆษณาสินค้าที่ไม่เกินความเป็นจริง   ปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาดูแลและให้การคุ้มครองผู้บริโภค   ถ้าผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากธุรกิจ   หรือจากการใช้สินค้า  เช่น  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  (อย.)  สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค         (สคบ.)
          3.  ความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อพนักงาน  (Responsibility   toward  Employees)   เป็นความรับผิดชอบตามพันธะข้อผูกพัน   ซึ่งอาจเป็นไปตามกฎหมาย  เช่น  กฎหมายคุ้มครองแรงงาน  กฎหมายแรงงานสัมพันธ์   การประกันสังคม  การประกันการว่างงาน  หรือเป็นไปตามความสมัครใจทางธุรกิจเอง  เช่น 

มีการจัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับพนักงาน  เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน   นอกจากนี้ธุรกิจจะต้องมีนโยบายทางด้านทรัพยากรมนุษย์   ที่สร้างความเสมอภาพและเป็นธรรมให้กับพนักงาน  เช่น  ในเรื่องนโยบายการสรรหาการว่าจ้าง  การฝึกอบรม  การจ่ายค่าตอบแทน   การประเมินผลงานการปฏิบัติงาน  เป็นต้น 
            4.   ความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อผู้ลงทุน  (Responsibility   toward  Investors)   ผู้ลงทุนหรือผู้ทำการซื้อหุ้น  ธุรกิจ   มีฐานะเป็นเจ้าของธุรกิจ  ย่อมต้องการทราบข้อมูลทางธุรกิจ  ดังนั้น   ผู้บริหารของธุรกิจจะต้องทำงานเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นได้ทราบความเป็นจริง  ไม่มีการปกปิดข้อมูล  มีการจัดทำบัญชีอย่างถูกต้อง    ไม่มีการตกแต่งตัวเลข  หรือ นำข้อมูลทางธุรกิจไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว
            5.   ความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อเจ้าหนี้  (Responsibility   toward  Creditors)  ผู้บริหารธุรกิจจะต้องมีความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้   ในเรื่องของการชำระหนี้ตรงตามกำหนดเวลา   และมีความจริงใจ   มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ขาย  ปัจจัยการผลิตให้กับธุรกิจ   เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น

การจัดการการดำเนินงานของธุรกิจ
          การจัดการการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบัน  จะเน้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์มากขึ้น   เนื่องจากธุรกิจการแข่งขันที่มากรุนแรงขึ้น   การแสวงหากความได้เปรียบทางการแข่งขันเป็นเรื่องจำเป็น   ในการวางแผนกลยุทธ์ผู้บริหารจะมีขั้นตอนที่สำคัญ  คือ
1.      การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ  (Environment  Analysis)   ซึ่งจะวิเคราะห์สภาพแวด
ล้อม  ดังนี้
          1.1   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ  เช่น  การประเมินสถานะทางธุรกิจ  ทั้งในเรื่องของนโยบาย  ทรัพยากร   หน้าที่ต่าง ๆ ภายในธุรกิจ   การจัดโครงสร้างองค์การ  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน  จะทำให้ถึงจุดแข็ง  (Strengths)   และจุดอ่อน  (Weakness)  ของธุรกิจได้
            1.2   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กร  จะเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่ว ๆ ไป   ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ  เช่น  ทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  กฎหมาย  เทคโนโลยี  และสิ่งแวดล้อม   ปัจจัยดังกล่าวอาจจะเป็นโอกาส  (Opportunity)  หรือเป็นอุปสรรค  (Threats)  ต่อธุรกิจ   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจทั้งสภาพภายในธุรกิจ   และสภาพแวดล้อมภายนอก   หรือที่เรียกว่า  การวิเคราะห์  SWOT   นั่นเอง   ธุรกิจจะต้องวิเคราะห์  SWOT   เพื่อที่จะได้ทำการกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ   และกลยุทธ์ของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

            2.   การกำหนดเป้าหมาย   (Goals)   ภายหลังจากผู้บริหารธุรกิจได้ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม  ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจแล้ว    ผู้บริหารจะได้ทำการกำหนดเป้าหมายของธุรกิจได้  เป้าหมายของธุรกิจ


คือ  จุดมุ่งหมายที่ธุรกิจจะบรรลุถึงองค์การและผู้บริหารจะใช้เป้าหมายวัดความสำเร็จ   หรือล้มเหลวจากการดำเนินงาน
          การกำหนดเป้าหมายขององค์การนั้น   จะขึ้นอยู่กับข้อกำหนด  หรือภารกิจ  (Mission)  ขององค์การที่ผู้บริหารจะกำหนดไว้   ดังนั้นผู้บริหารจึงควรมีวิสัยทัศน์  (Vision)   ที่กว้างไกล   เพื่อที่จะได้กำหนดภารกิจของกิจการได้อย่างเหมาะสม  เป้าหมายของธุรกิจอาจใช้เกณฑ์เรื่องระยะเวลากำหนดก็ได้  เช่น  เป้าหมายระยะทาง  (ส่วนใหญ่เกินกว่า 5 ปี)   เป้าหมายระยะปานกลาง  (ประมาณ 1-5 ปี๗   และเป้าหมายระยะสั้น  (ไม่เกิน 1 ปี)

            3.   การกำหนดกลยุทธ์ของกิจการ  (Strategy)   กลยุทธ์เป็นวิธีการที่ผู้บริหารจะใช้ในการดำเนินงาน   เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้   การกำหนดกลยุทธ์ของกิจการ  แบ่งออกเป็น 3 ระดับ  คือ
            3.1   กลยุทธ์ระดับกิจการ  (corporate  Strategy)   เป็นการมองภาพรวมของกิจการว่า  ธุรกิจใดของกิจการ   ควรจะมีการขยายงาน   รักษาระดับหรือตัดทอนลง  เพื่อจะได้จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            3.2   กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business   Strategy)   เป็นการระบุกลยุทธ์ที่ธุรกิจต่าง ๆ ของกิจการที่มีอยู่   จะใช้วิธีการใดในการแข่งขันกับคู่แข่งขัน  เช่น  การใช้กลยุทธ์ทางด้านต้นทุน   กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์    และกลยุทธ์การมุ่งเน้นเฉพาะ   เป็นต้น
            3.3   กลยุทธ์ระดับหน้าที่  (Functional  Strategy)   เป็นการระบุกลยุทธ์ตามหน้าที่ทางธุรกิจ   เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้กับแต่ละธุรกิจ  เช่น  กลยุทธ์ทางด้านการตลาด  กลยุทธ์ทางด้านการผลิต   กลยุทธ์ทางด้านการเงิน  และกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์  เป็นต้น
            ภายหลังจากผู้บริหารได้กำหนดกลยุทธ์แล้ว   ผู้บริหารจะได้มีการจัดทำแผน  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน   เช่น  แผนเชิงกลยุทธ์  (Strategy  Plan)   ซึ่งจะเป็นแผนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินในเรื่องที่มีลำดับความสำคัญมากๆ  เช่น  การตัดสินใจในเรื่องที่มีลำดับความสำคัญมากๆ  เช่น  การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรให้กับธุรกิจต่างๆ

            ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า   สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา   การวางแผนในปัจจุบันผู้บริหารจะมุ่งเน้นความสำคัญเพิ่มขึ้นอีก 2 ประการ คือ
            1.  การวางแผนตามสถานการณ์  (Continuency   Planning)   แผนที่วางไว้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป   ดังนั้นผู้บริหารจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด   และสามารถปรับแผนของธุรกิจได้อย่างทันท่วงที   ทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
            2.   การจัดการวิกฤต   (Crisis   management)      การดำเนินงานของธุรกิจ   ผู้บริหารอาจเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน   เป็นสภาวการณ์วิฤกตฉุกเฉิน   สถานการณ์เช่นนี้ผู้บริหารจะมีวิธีการจัดการ

กับสภาวการณ์วิกฤตนี้ได้อย่างไร  เช่น  กรณีเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ   ในปี พ.. 2540   ผู้บริหารธุรกิจต่าง ๆ พบวิกฤตทางด้านการเงิน  โดยเฉพาะธุรกิจที่นำเข้า   และผู้บริหารที่กู้ยืมเงินจากต่างประเทศ   ประสบกับปัญหาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ   ส่งผลให้ธุรกิจเหล่านี้ต้องใช้เงินบาทจำนวนเพิ่มมากขึ้นในการชำระเงิน   และการชำระหนี้อันเนื่องมาจากค่าเงินบาทอ่อนตัว

กระบวนการการจัดการ  (Management  process)
          ผู้บริหารธุรกิจมีหน้าที่ในเรื่องของการจัดการ   กระบวนการการจัดการประกอบไปด้วยขั้นตอนที่สำคัญอยู่  4 ขั้นตอน  คือ
            1.  การวางแผน  (Planning)  เป็นกิจกรรมอันดับแรกที่สำคัญของผู้บริหารที่จะต้องมีการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เตรียมการไว้ล่วงหน้า  เช่น  มีการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ  เช่น  จะขยายกิจการลงทุนสร้างโรงงานใหม่   เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ   เพื่อให้การบริหารงานประสบผลสำเร็จ   ดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและรัดกุม
            2.   การจัดองค์การ  (Organizing)   เพื่อให้เป้าหมายของธุรกิจที่วางแผนไว้ล่วงหน้าประสบผลสำเร็จ   ผู้บริหารจะมีการจัดโครงสร้างองค์การ   มีการแบ่งงาน  มอบหมายงาน  จัดพนักงานในการปฏิบัติงานต่าง ๆ  ในตำแหน่งต่างๆ  ขององค์การ  เพื่อให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
            3.   การนำ  (Leading)   หมายถึง  การสั่งการ   การชี้แนะ   ของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานตามคำสั่ง   หรือคำชี้แนะของผู้บังคับบัญชา   เพื่อให้การทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วง   ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ   ดังนั้นภาวะผู้นำ   การจูงใจ  การติดต่อสื่อสาร   จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึง
            4.   การควบคุม  (Controlling)  เป็นกิจกรรมขั้นสุดท้ายของกระบวนการบริหาร  เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้หรือไม่   ดังนั้นผู้บริหารจะต้องกำหนดเกณฑ์   มาตรฐาน   เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผล   ปัจจุบันเกณฑ์การประเมินผลที่ธุรกิจใช้กันมากก็คือ   การใช้ Benchmark   กับกิจการคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
            ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหาร   จะต้องเสาะแสวงหากดึงดูด   บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าในองค์การ   จูงใจรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้ให้อยู่กับองค์กรนานๆ    โดยพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ

 
หน้าที่ในการประกอบธุรกิจ
            กิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจนับตั้งแต่เริ่มทำให้เกิดมีสินค้าหรือบริการขึ้นมา  จนกระทั่งสินค้าหรือบริการนั้นไปถึงมือผู้บริโภค    เป็นกิจกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนหลายขั้นตอน   แต่ถ้าพิจารณาถึงหน้าที่งานหลัก ๆ  ทางธุรกิจแล้ว   อาจแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
            1.  หน้าที่ทางด้านการผลิต   คือ  กิจกรรมที่ทำให้เกิดมีสินค้าหรือบริการ   กิจกรรมนี้จะรวมถึงการจัดตั้งสถานที่ประกอบการ   การติดตั้งเครื่องมือ   เครื่องจักร   การจัดซื้อวัตถุดิบ  การดำเนินการผลิต   การเก็บรักษาวัสดุต่าง ๆ ในโรงงาน   โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ได้สินค้าคุณภาพดี   ต้นทุนที่เหมาะสม
            2.   หน้าที่ทางด้านการตลาด  คือ  กิจกรรมต่างๆ  ที่จะทำให้สินค้าหรือบริการที่ผลิตเสร็จไปถึงมือผู้บริโภค   ในการประกอบกิจการ   ถ้าสินค้าหรือบริการที่ผลิตแล้วไม่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน  เราไม่ถือว่าเป็นธุรกิจ   ดังนั้นกิจกรรมใด ๆ ก็ตามถ้ามีส่วนช่วยให้สินค้าหรือบริการนั้น   เปลี่ยนมือ  ซื้อขาย  หรือแลกเปลี่ยน   เราถือว่าเป็นกิจกรรมด้านการตลาดทั้งสิ้น   กิจกรรมด้านการตลาด  ได้แก่  การซื้อ  การขาย  การเก็บรักษา   การโฆษณา   การหีบห่อ   การส่งเสริมการจำหน่าย  ฯลฯ  วัตถุประสงค์ของงานด้านการตลาด   คือ  ให้ผู้ที่ใช้สินค้าได้รับสินค้าหรือบริการไปโดยได้รับความพอใจมากที่สุด
          3.  หน้าที่ทางด้านการเงิน   การเงินนับเป็นเรื่องสำคัญมากในการประกอบธุรกิจ   ธุรกิจจะเริ่มต้นและดำเนินการอยู่ได้อย่างราบเรียบ   อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับการบริหารงานด้าน   ทั้งนี้เพราะในการประกอบธุรกิจนั้นมีรายการที่เกี่ยวกับรายได้
            4.   หน้าที่ทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์   คือ  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดขององค์การ  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์    จะเริ่มต้นจากการวางแผนทรัพยากรมนุษย์   การสรรหาและการคัดเลือกการบรรจุแต่งตั้ง   การจ่ายค่าตอบแทน  การพัฒนาและการฝึกอบรม   การประเมินผลการปฏิบัติงาน   แรงงานสัมพันธ์

ระดับของการจัดการ  (Levels  of  Management)
            ระดับของการจัดการแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ   ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดการจะมีอำนาจหน้าที่   และความรับผิดชอบต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งต่าง ๆ 
    1.   ผู้บริหารระดับสูงสุด  (Top  Management)     คือ  ผู้จัดการอาวุโสหรือผู้บริหารที่มีความสำคัญที่สุด   โดยจะเป็นผู้ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์มานานหลายปี   ในการบริหารงานระดับนี้ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหาร  (Board  of  Directors)   ประธาน  (President)   หรือหัวหน้าผู้บริหาร  (Chief  Executive Officers)   และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของบริษัทการบริหารงานระดับสูงจะต้องรับผิดชอบต่อการบริหารงานทั้งหมดขององค์การและตัดสินใจในการทำแผนงานกว้าง ๆ  ของบริษัท   และเรื่องต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ  เช่น  การรวมกิจการ  สินค้าชนิดใหม่  และการออกหุ้นทุน

            2.  ผู้บริหารระดับกลาง  (Middle  Management)   ประกอบด้วยผู้จัดการแผนก  (Division  Managers)   หรือผู้จัดการโรงงาน  (Plant  Manager)   ผู้จัดการเหล่านี้มีความรับผิดชอบในการปรับปรุงโครงการดำเนินงาน   ซึ่งช่วยทำให้โครงการกว้าง ๆ   ซึ่งทำขึ้นโดยฝ่ายบริหารขั้นสูงสุดสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี   และทำหน้าที่สั้งงานและรับรายงานจากผู้บริหารระดับต้นของหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน   จึงเปรียบเสมือนตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้บริหารระดับสูง  และระดับต้น

            3.   ผู้บริหารระดับต้น ๆ  (First  Line  of  Supervisory)   คือหัวหน้าขั้นต้น   เพราะว่าต้องมีความรับผิดขอบในการควบคุมดูแลคนงาน   ซึ่งดำเนินงานเป็นประจำ   ไม่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย  กฎระเบียบ   และหน่วยปฏิบัติที่แน่นอนเป็นเครื่องมือช่วยในการปฏิบัติงานอยู่แล้ว

ทักษะของผู้บริหาร 
            ในอดีต  นักวิชาการต่าง ๆ  ได้กล่าวถึงทักษะของผู้บริหาร   ซึ่งจะต้องมี 3 ประการ  คือ
            1.   ทักษณะในด้านรายละเอียดของการปฏิบัติงาน  (Technical  Skill)   หมายถึง  ความรู้ในวิธีการ ปฎิบัติงานในการใช้เครื่องมือ   และมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ  โดยเฉพาะ   เช่น  ศัลยแพทย์  นักดนตรี   นักวิชาการ
            2.  ทักษะในเรื่องมนุษยสัมพันธ์  (Human  Relation  Skills)   หมายถึง  ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น  คือ  มีมนุษยสัมพันธ์   เข้าใจและรู้วิธีจูงใจผู้ร่วมงานทั้งเป็นรายบุคคล  หรือเป็นกลุ่ม   ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความร่วมมือ
            3.  ทักษะในเรื่องความคิด  (Conceptual  Skill)   หมายถึง  มีความรู้ทางทฤษฎี  และหลักการสามารถที่จะเข้าใจถึงสภาพการทำงานเป็นส่วนรวม  เข้าใจความเกี่ยวข้องของกิจกรรม  หรือหน้าที่ของงานต่างๆ   เข้าใจถึงความสำคัญของความสัมพันธ์  และการประสานงานของแต่ละหน้าที่  ทั้งภายในองค์การกับสภาพแวดล้อมในด้านเศรษฐกิจ   การเมืองและสังคม  อันจะทำให้เกิดผลสำเร็จ   เป็นส่วนรวมของกิจการแต่ในปัจจุบัน   ผู้บริหารควรจะมีทักษะเพิ่มขึ้นอีก 2 ทักษะ   คือ
                        1.  ทักษะทางด้านการตัดสินใจ  (Decision-Making  Skill)   หมายถึง  ความสามารถของผู้บริหารในการพิจารณาตัดสินใจต่าง ๆ เช่น  การตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา   ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการระบุปัญหา   วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา   สามารถกำหนดทางเลือกต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหา   และพิจารณาตัดสินใจในทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหา
                        2.   ทักษะด้านการจัดการทางด้านเวลา  (Time  Management  Skills)    หมายถึง   ความสามารถของผู้บริหารในการบริหารเวลาได้อย่างเหมาะสม   เช่น  งานใดควรจะเป็นหน้าที่ของผู้บริหารงานระดับสูง   งานใดสามารถมอบหมายให้ผู้บริหารระดับรองลงไปปฏิบัติ   เป็นต้น

สำหรับแนวโน้ม   ทักษะการจัดการที่จำเป็นในศตวรรษที่  21  คือ
          1.  ทักษะการจัดการโลกาภิวัฒน์  (Global  Management   Skills)   เนื่องจากธุรกิจในปัจจุบันเปรียบเสมือนการค้าไร้พรมแดน   การดำเนินงานธุรกิจระหว่างประเทศภายใต้สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่แตกต่างกันไป   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ  สังคม  กฎหมาย  การเมือง   ผู้บริหารธุรกิจจะต้องมีทักษะในการจัดการภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป
            2.   ทักษะการจัดการทางด้านเทคโนโลยี  (Management  and  Technology  Skills)   การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเป็นเรื่องของการใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร   ผู้บริหารเผชิญหน้าเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร   ข้อมูล   ข่าวสารต่าง ๆ  ดังนั้น   การจัดการเรื่องสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ  E-Commerce,  E-Mail,  การจัดทำ  Website  ต่าง ๆ  เป็นต้น

จริยธรรมทางธรุกิจ  (Business   Ethics)
          Ricky  W.  Griffin  &  Ronald  J.  Ebert  ได้ให้ความหมายของจริยธรรม  (Ethics)   ไว้ว่าเป็นการพิจารณาถึงสิ่งที่ดี  เลว  ถูก   ผิด   ของแต่ละคนที่ยึดปฏิบัติ
            Joseph  T.  Straub  &  Raymond  F.  Attner   ได้ให้ความหมายของจริยธรรม  ไว้ว่าเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติที่ถูกต้องด้วยศีลธรรม
            ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า  จริยธรรม คือ  ความรู้สึกถึงสิ่งดีงาม   ถูกผิดที่แต่ละคนยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ   ซึ่งแต่ละบุคคลอาจจะยึดปฏิบัติที่แตกต่างกันก็ได้
            ในระบบการดำเนินงานทางธุรกิจจะต้องดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดไว้   และนอกเหนือจากที่กฎหมายได้กำหนดไว้   ผู้ประกอบการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีจริยธรรมทางธุรกิจ   เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ   โดยที่รัฐบาลไม่ต้องออกกฎหมายมาบังคับ

จริยธรรมของนักธุรกิจที่ควรจะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ  พอสรุปได้ดังนี้
          1.   ผู้ถือหุ้น  ในการที่กิจการจะดำรงอยู่ได้นั้น   ผู้บริหารต้องรับผิดชอบเงินลงทุนที่เจ้าของนำมาลงทุน   และให้เขาได้กำไรจากการประกอบการไปพอสมควร
           
            2.   ลูกค้า   เพื่อให้ลูกค้าได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพดีในราคายุติธรรม  ไม่มีสารพิษปลอมปนไปในสินค้าที่เขาซื้อ
            3.  ลูกจ้างหรือพนักงาน   ต้องให้ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับค่าจ้างแรงงานและเงินเดือน  สวัสดิการต่าง ๆ อย่างพอเพียง   มีสภาพการทำงานที่ดีซึ่งจะทำให้พนักงานรักบริษัท   และปฏิบัติงานเต็มความรู้ความสามารถ   ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้นและลูกค้า
          4.  เจ้าหนี้   ต้องพยายามคืนเงินที่กู้มาให้ครบถ้วน   อย่ากู้แล้วโกงโดยไม่ยอมชดใช้  ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยหรือเงินต้น
5.       รัฐบาล  ธุรกิจมีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรก็ต้องเสียให้ถูกต้องครบถ้วน   เพราะเงินที่รัฐบาลได้ไป
ก็จะนำมาสร้างหรือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้แก่ธุรกิจนั้น ๆ เป็นผลตอบแทน
6.      สังคม  คำว่า สังคมในที่นี้เป็นคำที่ค่อนข้างกว้าง  ซึ่งหมายถึง
6.1  บุคคลที่อยู่รอบ ๆ กิจการที่ตั้งอยุ่โดยไม่ปล่อยมลภาวะที่เป็นพิษให้แก่สังคมนั้น  ไม่ว่าจะ
เป็นน้ำ  หรืออากาศ
                   6.2   มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่ามีหลาย ๆ ธุรกิจที่ขุดหรือนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้   ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้นับวันก็จะหมดไปเรื่อยๆ   จึงต้องพยายามใช้อย่างประหยัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
                    6.3   ถ้ามีโอกาสควรแบ่งกำไร   คืนกำไรให้สังคมบ้าง   เช่น  การให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่ด้อยโอกาสและขาดแคลน   บูรณะปฏิสังขรณ์งานศิลปกรรมของชาติ  เป็นต้น

            กล่าวโดยสรุปแล้ว   ถ้าเราประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อกลุ่มบุคคลต่าง ๆ  ได้อย่างครบถ้วนก็นับได้ว่าธุรกิจนั้นๆ  มีการประกอบการที่ดี  สามารถทำให้ทุกฝ่ายในสังคมอยู่ด้วยกันอย่างผาสุก

สภาพแวดล้อมของธุรกิจ  (Environments  of  Business)
          รูปแสดงสภาพแวดล้อมทั้งหกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจในปัจจุบัน   ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวเป็นงานที่ท้าทายของผู้บริหาร  ในการจัดการกับปัญหาดังกล่าวที่จะต้องสนใจติดตาม  และทำความเข้าใจและสามารถที่จะปรับปรุงปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมดังกล่าว  เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินงานของธุรกิจได้เป็นอย่างดี


สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
          สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ   มีผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจ   เช่น  ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ   รายได้ประชาชาติ   อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและของโลก   ว่าอยู่ท่ามกลางภาวการณ์อย่างไร   ถ้าภาวการณ์ทางเศรษฐกิจดีจะส่งผลทำให้ธุรกิจมีการขยายตัวในทางตรงกันข้าม   ถ้าภาวการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำซบเซา   จะทำให้ธุรกิจมีการชะลอตัวการลงทุน  หรืออาจจะต้องปิดกิจการลง   ปัจจัยทางเศรษฐกิจจะมีผลกระทบโดยตรงต่อลูกค้า  ผู้ขาย  การจ้างงาน  เป็นต้น

สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี
          เทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชิวิตความเป็นอยู่ของประชาชน  มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ   ส่งผลกระทบต่อการผลิต   การใช้คอมพิวเตอร์   หุ่นยนต์   การสื่อสาร   ส่งผลทำให้สังคมปัจจุบันเป็นสังคมทางข้อมูลข่าวสาร  (information  Society)  ระบบทางด่วนของข้อมูล  (information  Highway)   ทำให้ธุรกิจมีการสร้างระบบเครือข่ายข้อมูลข่าวสารเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก   ทำให้ระบบการติด

ต่อสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว  เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ   ทำให้ประชาคมโลกเข้าสู่ยุคสมัยใหม่     

สภาพแวดล้อมทางด้านรัฐบาล
            สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการออกกฎระเบียบ   นโยบายของรัฐ   การออกกฎหมายต่าง ๆ เช่น  กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค   การผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพ   การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม   กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา   การคุ้มครองทางด้านแรงงานตามกฎหมายแรงงาน  เช่น  การเข้าเป็นสมาชิกของกองทุนเงินทดแทน   การประกันบุคคลที่สาม  เป็นต้น

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม
            วัฒนธรรมของประชากรแต่ละประเทศมีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจความเชื่อ   ค่านิยม  ทัศนคติ   ความคิด  และวิถีความเป็นอยู่ของประชากรมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้บริโภค  วัฒนธรรมมีผลต่อความผูกพันความจงรักภักดีของพนักงานในองค์การ   ซึ่งวัฒนธรรมของประชากรในแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันออกไป

สภาพแวดล้อมทางทรัพยากรธรรมชาติ
            สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับมลพิษทางด้านอากาศ   น้ำ   ของเสียจากโรงงาน  ควัน  ฝุ่น   อากาศ   การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ  ฯลฯ   มีความสำคัญโดยตรงต่อกิจกรรมของโรงงานและทรัพยากรธรรมชาติของโลก   กลุ่มผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของโลก   เข่น  องค์การกรีนพีช  (Green  peace)   ได้  เฝ้าติดตามดูแลปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม  ดังนี้นผู้บริหารกิจกรรมจะต้องให้ความสนใจต่อปัญหาเหล่านี้   เพราะระบบการผลิตในปัจจุบันจะต้องคำนึงถึง   ตั้งแต่วัตถุดินที่กิจการจัดหามาได้จะต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมธรรมชาติ    และในช่วงของการผลิตของกิจการ   ก็จะต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมธรรมชาติ   และในช่วงของการผลิตของกิจการ   ก็จะต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อมธรรมชาติ   ตามหลักของมาตรฐานการผลิตของโลก  ตาม ISO  9001,  9002,  9003,  12000  ที่ระบบการผลิตของเศรษฐกิจจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

สภาพแวดล้อมภายในกิจการ
            สภาพแวดล้อมภายในกิจการเช่นเดียวกันกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา  ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของธุรกิจ

***************************************************************************************************************
บทที่ 11


จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

 

1. ข้อใดคือความหมายของธุรกิจคอมพิวเตอร์

ก. คือ กระบวนการที่ใช้บุคคลหรือทรัพยากรของหน่วยงาน

ข. คือ กิจกรรมที่ดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อก่อให้เกิดรายได้โดยมุ่งหวังกำไร

ค. กระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์

ง. สินค้าด้านคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้รับการจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อลูกค้า

 

2. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการวางแผนการตลาด?

ก. สำรวจช่องทางการตลาด เพื่อสร้างผลตอบแทนให้คุ้มค่า

ข. กำหนดตลาดเป้าหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์

ค. เพิ่มปริมาณธุรกิจที่ได้จากการคาดการณ์จากความน่าจะเป็น

ง. ประเมินโอกาส และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดในระยะยาว

 

3. แผนการขายสามารถแบ่งได้เป็นกี่ขั้นตอน?

ก. 1                                         ข. 2

ค. 3                                         ง. 4

 

4.จุดมุ่งหมายของการเสนอขายคือข้อใด?

ก. ชักจูงลูกค้าสู่กระบวนการซื้อ

ข. เตรียมข้อมูลในการเสนอลูกค้า

ค. การเตรียมข้อมูลของพนักงานขายที่จะเสนอต่อลูกค้า

ง. ถูกทุกข้อ

 

5. ข้อใดจัดว่าเป็นแหล่งเงินทุนส่วนของเจ้าของ

ก. ชักจูงลูกค้าสู่กระบวนการซื้อ

ข. เตรียมข้อมูลในการเสนอลูกค้า

ค. การเตรียมข้อมูลของพนักงานขายที่จะเสนอต่อลูกค้า

ง. ถูกทุกข้อ

 

6. แหล่งลงทุนที่สำคัญมาจากแหล่งใดบ้าง

ก. เงินทุนจากส่วนของเจ้าของ

ข. แหล่งเงินทุนจากธนาคารไทยพาณิชย์

ค. แหล่งเงินทุนจากธนาคารและสถาบันการเงิน

ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

 

7. IFCT เป็นชื่อย่อของอะไร?

ก. บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ข. ธนาคารแห่งประเทศไทย

ค. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ง. สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อย

 

8. แหล่งเงินทุนนอกระบบ คือแหลงเงินทุนชนิดใด

ก. แหล่งเงินทุนที่ทางราชการไม่สามารถควบคุมได้ อาศัยความสมัครใจระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้โดยตกลงกันเอง

ข. แหล่งเงินทุนที่กู้มาจากส่วนราชการ

ค. เงินทุนจากรัฐวิสาหกิจ

ง. แหล่งเงินทุนเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

 

9. ผู้ประกอบการ มีความหมายตรงกับข้อใด

ก. บุคคลที่มีความคิดที่จะทำธุรกิจและเป็นผู้จัดตั้งองค์การธุรกิจขึ้นมา

ข. คณะบุคคลที่ร่วมมือจัดตั้งองค์การธุรกิจโดยไม่หวังผลกำไร

ค. ผู้จัดตั้งสมาคมหรือมูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์

ง. ถูกทุกข้อ

 

10. ข้อใดคือคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ประกอบการที่จะประสบผลสำเร็จ?

ก. ความสามารถและความริเริ่มสร้างสรรค์

ข. มีเงินทุนเพียงพอ

ค. มีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าสม่ำเสมอ

ง. รับข้อเสนอ ข้อเรียกร้องต่างๆ จากลูกค้าไว้พิจารณา

 

11.ข้อใดจัดว่าเป็นแหล่งเงินทุนส่วนของเจ้าของ

 ก. เพื่อนและญาติ

 ข. ธนาคาร

 ค. การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

 ง. สถาบันการเงิน

 

12.จุดมุ่งหมายของการเสนอขายคือข้อใด

 ก. ชักจูงลูกค้าสู่กระบวนการซื้อ

 ข. การเตรียมข้อมูลของพนักงานขายที่จะเสนอต่อลูกค้า

  ค. เตรียมข้อมูลในการเสนอลูกค้า

  ง. ถูกทุกข้อ

 

13.แผนการขายสามารถแบ่งได้กี่ขั้นตอน

 ก. 1

 ข. 2

 ค. 3

 ง. 4

 

14.ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการวางแผนการตลาด

 ก. สำรวจช่องทาการตลาด เพื่อสร้างผลตอบแทนให้คุ้มค่า

 ข. กำหนดตลาดเป้าหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์

  ค. เพิ่มประมาณธุรกิจที่ได้จากการคาดการณ์จากความน่าจะเป็น

  ง. ประเมินโอกาส และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดในระยะยาว

 

15.ข้อใดคือความหมายของธุรกิจคอมพิวเตอร์

 ก.สินค้าด้านคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้รับการจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อลูกค้า

  ข. กระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์

  ค. คือกิจกรรมที่ดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อก่อให้เกิดรายได้โดยมุ่งหวังกำไร

  ง. คือกระบวนการที่ใช้บุคคลหรือทรัพยากรของหน่วยงาน